วันพุธที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2552

คุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ

เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 ชั่วโมงที่ 2
สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างควาตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม "๘ คุณธรรมพื้นฐาน" ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


ความประหยัด
ประหยัด คือ การรู้จักเก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สิน สิ่งของแต่พอควรพอประมาณ ให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า ไม่ฟุ่มเฟือย ฟุ้งเฟ้อ
ผู้ที่มีความประหยัด คือ ผู้ที่ดำเนินชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย รู้จักฐานะการเงินของตน คิดก่อนใช้คิดก่อนซื้อ เก็บออม ถนอมใช้ทรัพย์สินสิ่งของอย่างคุ้มค่า รู้จักทำบัญชีรายรับ-รายจ่ายของตนเองอยู่เสมอ
ตัวอย่างการปฏิบัติ เก็บสะสมเงินที่เหลือในกระปุกออมสินเป็นประจำ ซื้อสิ่งของหรือเสื้อผ้าเท่าที่จำเป็น ปลูกผักสวนครัวไว้กินในบ้าน
ผลการปฏิบัติ ทำให้มีเงินเหลือเก็บ มีฐานะดีขึ้น เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น มีความภาคภูมิใจในตนเอง ได้นำแนวพระราชดำริปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต


เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 22 ชั่วโมงที่ 3
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม "๘ คุณธรรมพื้นฐาน" ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


ความซื่อสัตย์ประหยัด
ซื่อสัตย์ คือ ประพฤติตรงไม่เอนเอียงไม่มีเล่ห์เหลี่ยมมีความจริงใจ ปลอดจากความรู้สึกลำเอียงหรืออคติเอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่นักเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 ชั่วโมงที่ 1
สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


มีวินัย
มีวินัย คือ การยึดมั่นในระเบียบแบบแผน ข้อบังคับและข้อปฏิบัติ ซึ่งมีทั้งวินัยในตนเองและวินัยต่อสังคม
ผู้ที่มีวินัย คือ ผู้ที่ปฏิบัติตนในขอบเขต กฎ ระเบียบของสถานศึกษา สถาบัน/องค์กร/สังคมและประเทศโดยที่ตนเองยินดีปฏิบัติตามอย่างเต็มใจและตั้งใจ
ตัวอย่างการปฏิบัติ เช่น ไม่มาโรงเรียนสาย แต่งกายถูกต้องตามที่โรงเรียนกำหนด
ผลการปฏิบัติ ทำให้เป็นที่ยอมรับและเป็นแบบอย่างของผู้อื่น ประสบความสำเร็จในการทำงานตามที่กำหนด





เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่นักเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 ชั่วโมงที่ 2
สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


สุภาพ
สุภาพ คือ เรียบร้อย อ่อนโยน ละมุนละม่อม มีกิริยามารยาทที่ดีงาม มีสัมมาคารวะ
ผู้ที่มีความสุภาพ คือ ผู้ที่อ่อนน้อมถ่อมตนตามสถานภาพและกาลเทศะ ไม่ก้าวร้าว รุนแรง วางอำนาจข่ม
ผู้อื่นทั้งโดยวาจาและท่าทาง แต่ในเวลาเดียวกันยังคงมีความมั่นใจในตนเอง เป็นผู้ที่มีมารยาท
วางตนเหมาะสมตามวัฒนธรรมไทย
ตัวอย่างการปฏิบัติ เช่น พูดจาด้วยถ้อยคำที่สุภาพอ่อนหวาน มีหางเสียง มีกิริยามารยาทที่อ่อนน้อมถ่อมตน
รู้จักเคารพผู้ที่สูงวัยกว่า
ผลการปฏิบัติ เป็นที่ชื่นชมของผู้อื่น มีผู้ต้องการคบหาสมาคมด้วยด้วยความยินดี ได้รับความรักเมตตากรุณา
จากผู้อื่น



เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม แก่นักเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 23 ชั่วโมงที่ 3
สาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


สะอาด
สะอาด คือ ปราศจากความมัวหมองทั้งกาย ใจ และสภาพแวดล้อม ความผ่องใสเป็นที่เจริญตาทำให้เกิดความสบายใจแก่ผู้พบเห็น
ผู้ที่มีความสะอาด คือ ผู้รักษาร่างกาย ที่อยู่อาศัยสิ่งแวดล้อมถูกต้องตามสุขลักษณะ ฝึกฝนจิตใจมิให้ขุ่นมัว จึงมีความแจ่มใสอยู่เสมอ

ตัวอย่างการปฏิบัติ อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดเป็นประจำทุกวัน สวมใส่เสื้อผ้าเครื่องแต่งกายที่ได้รับการ
ซักรีดเรียบร้อย กินอาหารที่สะอาดไม่มีเชื้อโรคหรือแมลงวันตอม เป็นต้น
ผลการปฏิบัติ เป็นผู้ที่มีสุขภาพกายและสุขภาพจิตดี แข็งแรง ไม่เป็นที่รังเกียจของผู้พบเห็น มีความสุข
ในการใช้ชีวิต


ผู้ที่มีความซื่อสัตย์ คือ ผู้ที่มีความประพฤติตรงทั้งต่อหน้าที่ ต่อวิชาชีพ ตรงต่อเวลา ไม่ใช้เล่ห์กล คดโกงทั้งทางตรงและทางอ้อม รับรู้หน้าที่ของตนเองและปเอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 ชั่วโมงที่ 1
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม "๘ คุณธรรมพื้นฐาน" ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


ความสามัคคีประหยัด
สามัคคี คือ ความพร้อมเพียงกัน ความกลมเกลียวกัน ความปรองดองกัน ร่วมใจกันปฏิบัติงานให้บรรลุ ผลตามที่ต้องการเกิดงานการอย่างสร้างสรรค์ปราศจากการทะเลาะวิวาท ไม่เอารัดเอาเปรียบกัน เป็นการยอมรับความมีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางความคิด ความหลากหลายในเรื่องเชื้อชาติ ความกลมเกลียวกันในลักษณะเช่นนี้ เรียกอีกอย่างว่า ความสมานฉันท์
ผู้ที่มีความสามัคคี คือ ผู้ที่เปิดใจกว้างรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รู้บทบาทของตนทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามที่ดี มีความมุ่งมั่นต่อการรวมพลัง ช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อให้การงานสำเร็จลุล่วง แก้ปัญหาและขจัดความขัดแย้งได้ เป็นผู้มีเหตุผล ยอมรับความแตกต่างหลากหลายทางวัฒนธรรม ความคิด ความเชื่อ พร้อมที่จะปรับตัวเพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ
ตัวอย่างการปฏิบัติ รักหมู่คณะ มีน้ำใจหวังดี มองคนอื่นในแง่ดี มีส่วนร่วมอย่างแข็งในการทำกิจการของชุมชน ปรับตัวให้เข้ากับคนอื่นเพื่อความรักร่วมแรงร่วมใจเป็นหนึ่งเดียวกัน
ผลการปฏิบัติ ทำให้การทำงานใด ๆ ประสบความสำเร็จ เกิดความเป็นหนึ่งเดียวในหมู่คณะไม่แตกแยก

เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 ชั่วโมงที่ 2
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปการศึกษา โดยยึดคุณธรรมนำความรู้สร้างความตระหนักสำนึกในคุณค่าของปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ความสมานฉันท์ สันติวิธี วิถีประชาธิปไตย พัฒนาคนโดยใช้คุณธรรมเป็นพื้นฐานของกระบวนการเรียนรู้ที่เชื่อมโยง ความร่วมมือของสถาบันครอบครัว ชุมชน สถาบัน ศาสนาและสถาบันการศึกษา โดยมีจุดเน้นเพื่อพัฒนาเยาวชนให้เป็นคนดี มีความรู้ และอยู่ดีมีสุข ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม “๘ คุณธรรมพื้นฐาน”ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย ดังนั้น เพื่อให้การขับเคลื่อนดังกล่าวมีความชัดเจน เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และสามารถนำไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเป็นรูปธรรม "๘ คุณธรรมพื้นฐาน" ที่ควรเร่งปลูกฝัง ประกอบด้วย


ความมีน้ำใจ
มีน้ำใจ คือ ความจริงใจที่ไม่เห็นแก่เพียงตัวเองหรือเรื่องของตัวเอง แต่เห็นอกเห็นใจเห็นคุณค่าในเพื่อน มนุษย์ มีความเอื้ออาทรเอาใจใส่ ให้ความสนใจในความต้องการ ความจำเป็น ความทุกข์สุขของผู้อื่น และพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือเกื้อกูลกันและกัน
ผู้ที่มีน้ำใจ คือ ผู้ให้และผู้อาสาช่วยเหลือสังคม รู้จักแบ่งปัน เสียสละความสุขส่วนตน เพื่อทำประโยชน์แก่ผู้อื่นเข้าใจ เห็นใจ ผู้ที่มีความเดือดร้อน อาสาช่วยเหลือสังคมด้วยแรงกาย สติปัญญา ลงมือปฏิบัติการเพื่อบรรเทาปัญหา หรือร่วมสร้างสรรค์สิ่งดีงามให้เกิดขึ้นในชุมชน
ตัวอย่างการปฏิบัติ ให้เพื่อนยืมหนังสือเรียน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้าน ช่วยคุณครูถือของ
ผลการปฏิบัติ ทำให้เกิดความสุขภาคภูมิใจ เป็นที่รักและไว้วางใจจากคนอื่น เป็นคนที่สังคมยอมรับ



เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 ชั่วโมงที่ 3
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..


ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์

ความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ หมายถึง มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย นิยมไทย ปฏิบัติตามคำสั่งสองของศาสนา เคารพเทิดทูนศาสนา แสดงความจงรักภักดี
ตัวอย่างการปฏิบัติ
1. เข้าร่วมกิจกรรมเนื่องในวันสำคัญของชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เช่น วันรัฐธรรมนูญ วันฉัตรมงคล วันเข้าพรรษา วันเฉลิมพระชนมพรรษา ด้วยความเต็มใจ
2. ประดับธงชาติตามอาคารบ้านเรือน เนื่องในวันสำคัญของชาติ
3. ยืนตรงเคารพธงชาติด้วยความภาคภูมิใจในความเป็นเอกราชของชาติไทย
4. อนุรักษ์ประเพณีและวัฒนธรรมของไทย เช่น แต่งกายด้วยผ้าไทย ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง เป็นต้น
ผลการปฏิบัติ ทำให้ประเทศชาติมีความมั่นคงยั่งยืน เจริญรุ่งเรือง ประชาชนในชาติอยู่เย็นเป็นสุข









เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24 ชั่วโมงที่ 4
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..



ความมีวินัย

วินัย คือ กำหนด ข้อบังคับ กฏเกณฑ์เพื่อควบคุมให้มีความเป็นระเบียบนั่นเอง มีทั้งวินัยของสงฆ์และของคนทั่วไป สำหรับของสงฆ์นั้นมีทั้งหมด 7 อย่างหรือเรียกว่า อนาคาริยวินัย ส่วนของบุคคลทั่วไปก็มี 10 อย่าง คือการละเว้นจากอกุศลกรรม 10 ประการ คือ ทางกายได้แก่ 1. ฆ่าและเบียดเบียนสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม ทางวาจาได้แก่ 4. พูดเท็จ 5. พูดคำหยาบ 6. พูดเพ้อเจ้อ ทางใจได้แก่ 7. พูดส่อเสียด 8. คิดพยาบาทปองร้าย 9. คิดโลภอยากได้ของผู้อื่น 10. การเห็นผิดหรือเป็นมิจฉาทิฏฐิ
ตัวอย่างการปฏิบัติ ปฏิบัติตามกฎหมาย กฎระเบียบของโรงเรียนและสังคม เช่น เคารพกฎจราจร แต่งกายถูกต้องตามที่โรงเรียนกำหนด เป็นต้น
ผลการปฏิบัติ ทำให้เป็นที่ยอมรับชื่นชม สามารถเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ เกิดความเรียบร้อยในการปฏิบัติงานทุกประการ และเกิดประสบผลสำเร็จในงานที่ทำ
เกิดเป็นคนขาดวินัยก็ไร้ค่า เยี่ยงคนป่ายุคหินสิ้นความหมาย
อยู่ร้อยปีมีแต่ทำความวุ่นวาย ขาดวินัยก็ไร้ค่าราคาคน
คนจะดีมีวินัยเป็นเครื่องวัด ต้องเคร่งรัดต่อระเบียบไม่เหยียบหยาม
ยึดวินัยนำไปสู่ความดีงาม ต้องทำตามวินัยถ้าใฝ่ดี
(คัดลอกจาก 80 เรื่อง 80 ปี ชีวานันทะ, อาสาสมัคร, (Mahachulalongkornrajavidyalaya Press: Bangkok 2548)

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์

ฏิบัติอย่างเต็มที่ถูกต้อง
ตัวอย่างการปฏิบัติ ไม่พูดโกหกกับพ่อแม่ คุณครู หรือผู้ใหญ่ ไม่ผิดสัญญาที่ให้ไว้กับคนอื่น ไม่นำความลับของเพื่อนไปเปิดเผย
ผลการปฏิบัติ ทำให้เป็นที่รักใคร่ ไว้วางใจจากผู้อื่น มีความภาคภูมิใจในเอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25 ชั่วโมงที่ 1
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

ใฝ่รู้ ใฝ่เรียน

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์


ใฝ่รู้ใฝ่เรียน หมายถึง สภาพของจิตใจที่สงสัย สนใจและมีความต้องการมากจนเป็น "ความอยาก" หรือ "ความกระหาย" ที่อยากฟัง อยากพบ อยากเห็น อยากดู อยากรู้ อยากสัมผัส อยากอ่าน อยากถาม อยากเข้าใจ อยากทำ ฯลฯ ในสาระหรือเรื่องราวต่างๆ ที่ได้พบเห็นได้ยินได้ฟังหรือได้รับรู้ เมื่อรับรู้แล้วมีความอยากรู้มากขึ้นในหลายด้าน หลายมุม หลายมิติ หลายชนิด หลายจำพวก หลายชั้น หลายระดับ หลายเวลา หลายสถานที่ ฯลฯ จึงอยากพบ อยากเห็น อยากดู อยากฟัง อยากถาม อยากอ่าน อยากดมกลิ่น อยากชิมรส อยากสัมผัส อยากรู้ อยากเข้าใจ ให้มากขึ้น ให้ลึกซึ้งและ
กว้างขวางออกไป
ที่มา : คำหมาน คนไค หนังสือพิมพ์ข่าวสด ฉบับที่ 4927 หน้า 34 วันที่ 26 พฤษภาคม 2547

ตัวอย่างการปฏิบัติ รักการอ่าน ทำงานที่ครูมอบหมายจนสำเร็จ ศึกษาค้นคว้าหาความรู้จาก
แหล่งเรียนรู้ต่าง ๆ อยู่เสมอ มีความมุมานะพยายามที่จะศึกษาเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

ผลการปฏิบัติ มีความรู้กว้างขวางเป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่นได้ ประสบความสำเร็จในการศึกษา
เล่าเรียน และการทำงานเนื่องจากการนำความรู้มาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้มากกว่า
ผู้ที่ไม่ใฝ่รู้ใฝ่เรียน

ตัวอย่างการปก










เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 25 ชั่วโมงที่ 2
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

อยู่อย่างพอเพียง ใฝ่เรียน

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์

พระราชดำริว่าด้วยเศรษฐกิจพอเพียง “...การพัฒนาประเทศจำเป็นต้องทำตามลำดับขั้น ต้องสร้างพื้นฐานคือ ความพอมี พอกิน พอใช้ของประชาชนส่วนใหญ่เบื้องต้นก่อน โดยใช้วิธีการและอุปกรณ์ที่ประหยัดแต่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เมื่อได้พื้นฐานความมั่นคงพร้อมพอสมควร และปฏิบัติได้แล้ว จึงค่อยสร้างค่อยเสริมความเจริญ และฐานะทางเศรษฐกิจขั้นที่สูงขึ้นโดยลำดับต่อไป...” (18 กรกฎาคม 2517)“เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่พระราชทานมานานกว่า 30 ปี เป็นแนวคิดที่ตั้งอยู่บนรากฐานของวัฒนธรรมไทย เป็นแนวทางการพัฒนาที่ตั้งบนพื้นฐานของทางสายกลาง และความไม่ประมาท คำนึงถึงความพอประมาณ ความมีเหตุผล การสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเอง ตลอดจนใช้ความรู้และคุณธรรม เป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิต ที่สำคัญจะต้องมี “สติ ปัญญา และความเพียร” ซึ่งจะนำไปสู่ “ความสุข” ในการดำเนินชีวิตอย่างแท้จริง
ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน มูลนิธิชัยพัฒนา
อยู่อย่างพอเพียง หมายถึง อยู่อย่างเรียบง่าย อยู่แบบปล่อยวาง สบายใจ ไม่เครียด อยู่ด้วยเมตตาธรรม มีน้ำใจไมตรีต่อผู้คน ต่อธรรมชาติ อยู่ด้วยสติ ปัญญา ความกล้เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26 ชั่วโมงที่ 1
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

ความมุ่งมั่นในการทำงาน

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์



ความมุ่งมั่นในการทำงาน หมายถึง ความมุมานะพยายามที่จะไปถึงจุดเป้าหมายที่กำหนดไว้โดยไม่ย่อท้อต่อความยากลำบากที่มาขวางกั้น "ความมุ่งมั่น" เป็นคำที่แทบทุกคนยอมรับว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการประสบความสำเร็จ ไม่ว่าจะเรื่องใด ๆา ความมุ่งมั่นไม่สามารถเกิดขึ้นได้เลย ถ้าไม่มีจุดมุ่งหมายมาก่อนและความมุ่งมั่นจะเกิดกับคนคนหนึ่งได้ก็เพราะคนคนนั้นมีจุดมุ่งหมายที่เขาอยากไปให้ถึงมาก ๆ จึงเกิดความมุ่งมั่นในใจที่จะไปให้ถึงจุดนั้นให้ได้
ตัวอย่างการปฏิบัติ อยากเป็นแพทย์จึงมุมานะพยายามอ่านหนังสือเพื่อให้สอบเข้าเรียนแพทย์ได้ อยากเข้าเรียนโรงเรียนนายร้อยจึงพยายามวิ่งออกกำลังกายเพื่อให้ผ่านการทดสอบความแข็งแรงของร่างกาย อยากสอบได้เกรดเฉลี่ยสูง ๆ จึงพยายามทำงานส่งครูและทบทวนค้นคว้าตำราเรียนอย่างสม่ำเสมอ เป็นต้น

ผลการปฏิบัติ ทำให้ประสบความสำเร็จตามความมุ่งหวังหรือเป้าหมายที่กำหนดไว้ ทำให้เกิดความภาคภูมิใจในความสำเร็จของตนเอง ฝันเป็นจริง
ตัวอย่างการปก







เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 26 ชั่วโมงที่ 2
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

รักความเป็นไทย

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์


รักความเป็นไทย หมายถึง การยึดถือปฏิบัติ เชิดชู วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามและวิถีชีวิตของไทยในทุก ๆ ด้าน ภูมิใจในความเป็นไทย และเป็นแบบอย่างในการปฏิบัติตนแก่ผู้อื่น ปัจจุบันวัยรุ่นไทยตกอยู่ในกระแสทุนนิยม ละทิ้งวัฒนธรรมขาดความภาคภูมิใจในความเป็นไทย หันไปรับวัฒนธรรมตะวันตกที่เข้ามาผ่านสื่อต่างๆ สร้างค่านิยมและทัศนคติที่ขัดแย้งระหว่างคนรุ่นเก่าและคนรุ่นใหม่ จนกลายเป็นปมปัญหาที่หาทางแก้ไขได้ยาก

ตัวอย่างการปฏิบัติ ถ่ายทอด อบรมสั่งสอน ให้ลูกหลานรู้จักอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีและวิถีชีวิตอันดีงามแบบไทย เช่น ใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง ใช้ผ้าไทย ฟื้นฟูภูมิปัญญาไทยและสมุนไพรไทย อนุรักษ์เพลงไทย รำไทย การมีชีวิตความเป็นอยู่อย่างพอเพียง โดยเฉพาะประเพณีการให้ความเคารพนับถือผู้อาวุโสกว่าด้วยการยกมือไหว้เป็นสิ่งที่นักเรียนต้องยึดถือปฏิบัติ เพื่อแสดงถึงความอ่อนน้อมถ่อมตน ผู้ใหญ่ให้ความรักเมตตาเอ็นดู

ผลการปฏิบัติ เอกลักษณ์ความเป็นไทยคงอยู่ตลอดไป คนไทยเกิดความภาคภูมิใจในตนเองเอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 27 ชั่วโมงที่ 1
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

จิตสาธารณะ

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์



จิตสาธารณะ หรือ จิตอาสา เป็นพฤติกรรมที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ แสดงออกด้วยการอาสา ไม่มีใครบังคับ ได้มีการให้ความหมายของคำว่า จิตสาธารณะ ไว้ดังนี้
ราชบัณฑิตยสถาน ให้ความหมายว่า จิตสาธารณะ หมายถึง การตระหนักรู้และคำนึงถึงส่วนรวมร่วมกัน หรือการคำนึงถึงผู้อื่นที่ร่วมสัมพันธ์เป็นกลุ่มเดียวกัน
สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ ให้ความหมายว่า จิตสาธารณะ หมายถึง การรู้จักเอาใจใส่เป็นธุระและเข้าร่วมในเรื่องของส่วนรวมที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ มีความสำนึกและยึดมั่นในระบบคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงาม ละอายต่อสิ่งผิด เน้นความเรียบร้อย ประหยัด และมีความสมดุล ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ
ตัวอย่างการปฏิบัติ การอาสาคุณครูรดน้ำต้นไม้ในโรงเรียน ช่วยขุดลอกคูคลองในหมู่บ้าน เก็บและกวาดขยะในห้องเรียนโดยไม่มีใครขอร้อง ฯลฯ

ผลการปฏิบัติ เกิดความสุขใจ เป็นที่ชื่นชมคนทั่วไป เป็นแบบอย่างแก่ผู้อื่น ได้รับการยอมรับและช่วยเหลือจากผู้อื่น


ที่มา : www.krukimpbmind.com ค้นคืนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549



เอกสารประกอบการอบรมคุณธรรม จริยธรรม นำก่อนเรียน
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 27 ชั่วโมงที่ 2
สารการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา (พ 31101) ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
…………………………………………..

คุณธรรม 4 ประการ

กาย วาจา ใจ ต่อตนเองและผู้อื่น รวมตลอดทั้งต่อหน้าที่การงานและจริงใจในสิ่งที่ถูกที่ควร ถูกต้องตามทำนองคลองรับผิดชอบ และด้วยความซื่อสัตย์ไม่แสวงหาผลประโยชน์



พระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พระราชทานแก่ประชาชนชาวไทย คราวสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี
ประการแรก คือ การรักษาความสัจ ความจริงใจ ต่อตนเองที่จะประพฤติปฏิบัติ แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์และเป็นธรรม ประการที่สอง คือ การรู้จักข่มใจตนเอง ฝึกใจตนเอง ให้ประพฤติปฏิบัติตนอยู่ในความสัจความดีนั้น ประการที่สาม คือ การอดทน อดกลั้น และอดออม ที่จะไม่ประพฤติล่วงความสัตย์สุจริต ไม่ว่าจะด้วยเหตุประการใด ประการที่สี่ คือ การรู้จักละวางความชั่ว ความทุจริต และรู้จักเสียสละประโยชน์ส่วนน้อยของตน เพื่อประโยชน์ส่วนใหญ่ของบ้านเมือง คุณธรรมสี่ประการนี้ ถ้าแต่ละคนพยายามปลูกฝัง และบำรุงให้เจริญงอกงาม โดยทั่วกันแล้ว จะช่วยให้ประเทศชาติบังเกิดความสุขความร่มเย็น และมีโอกาสที่จะปรับปรุง พัฒนาให้มั่นคงก้าวหน้าต่อไปได้ดังประสงค์... คุณธรรมสี่ ดังกล่าว ก็คือ ข้อปฏิบัติธรรมโดยตรงของคฤหัสถ์ทั้งหลาย ของผู้ครองเรือนทั้งหลาย ที่เรียกว่า ฆราวาสธรรม 4 ประการ”


ที่มา : www.krukimpbmind.com ค้นคืนวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2549


ตัวอย่างการปก

าหาญ เป็นตัวของตัวเอง ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ดี และงาม


ดร . เสรี พงศ์พิศ

ตนเอง เป็นที่ชื่นชมของผู้ที่คบหาด้วย

วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

หลังจากเกิดการปฏิสนธิได้ 7 วันแล้ว จากนั้นตัวอ่อนจะเจริญเติบโตเป็นทารก โดยแบ่งลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
1. ระยะไข่ เป็นระยะของไข่ในช่วง 2 สัปดาห์แรกภายหลังจากการปฏิสนธิ
2. ระยะตัวอ่อน นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 8 หลังจากการปฏิสนธิ
3. ระยะทารก นับตั้งแต่ปลายเดือนที่ 2 หรือต้นเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์
4. ระยะคลอด คือ ระยะที่เด็กในครรภ์อายุครบ 9 เดือน จึงคลอดออกมาจากครรภ์มารดา

ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไขเคลือบทั่ว อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้ ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600 – 2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้ มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่าง ๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่ และเมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่าง ๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สลายขึ้น

วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ความหมายและขั้นตอนของการปฏิสนธิ

ความหมายของการปฏิสนธิ
การปฏิสนธิ คือ การที่อสุจิเพศผู้เข้าผสมกับไข่ของเพศเมีย โดยที่ไข่ 1 ใบ ผสมกับอสุจิ 1 ตัว การปฏิสนธิมี 2 แบบด้วยกัน คือ การปฏิสนธิภายนอก เช่น การผสมเทียมเด็กหลอดแก้วกับการปฏิสนธิภายใน เช่น การฝังตัวของตัวอ่อนที่ผนังมดลูก

ขั้นตอนการปฏิสนธิ
1. เมื่อไข่ตกจากรังไข่แล้วจะเคลื่อนตัวไปตามท่อรังไข่ ซึ่งเยื่อบุท่อรังไข่จะมีขนช่วยพัดโบกและนำพาไข่ไปจนถึงตำแหน่งที่จะพบกับอสุจิ ในขณะที่มีเพศสัมพันธ์จนถึงจุดสุดยอด ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิซึ่งมีสเปิร์มถึง 400-500 ล้านตัวเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง





2. เมื่อฝ่ายชายหลั่งน้ำอสุจิเข้าสู่ช่องคลอดของฝ่ายหญิง สเปิร์มจะผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกและผ่านไปยังท่อนำไข่และปีกมดลูก โดยปกติอสุจิจะเดินทางด้วยอัตรา 2-3 มิลลิเมตรต่อนาที แต่สเปิร์มจะเคลื่อนที่ช้าลงในช่องคลอดที่มีสภาพเป็นกรด เคลื่อนที่เร็วขึ้นเมื่อผ่านจากปากมดลูกเข้าไปในโพรงมดลูกที่มีความเป็นด่าง ซึ่งกว่าอสุจิจะผ่านพ้นเข้าไปในท่อรังไข่ได้นั้น จำนวนอสุจิ 400-500 ล้านตัวในขณะหลั่ง จะเหลือรอดได้เพียงไม่กี่ร้อยตัวที่มีโอกาสไปผสมกับไข่ ส่วนหัวของอสุจิจะปล่อยสารย่อย (Enzyme) ซึ่งสามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ออกได้ จะมีอสุจิเพียงตัวเดียวเท่านั้นที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จ อสุจิตัวอื่น ๆ จะไม่สามารถเข้าไปได้อีก จากนั้นอสุจิจะสลัดหางและย่อยส่วนหัว เพื่อปลดปล่อยไมโครโซมทั้ง 23 แท่งที่บรรจุอยู่ภายในส่วนหัวเข้าสู่ไข่เพื่อจับคู่ของตัวเองกับไมโครโซมอีก 23 แท่งในไข่ และหลอมรวมตัวกันกลายเป็นเซลเซลเดียวเรียกว่า เกิดการปฏิสนธิขึ้น



3. หลังเกิดการปฏิสนธิ เซลจะมีการแบ่งตัวทวีคูณในเวลาอันรวดเร็ว จาก 1 เป็น 2 จาก 2 เป็น 4 จาก 4 เป็น 8 จาก 8 เป็น 16 ฯลฯ การแบ่งตัวจะเกิดอย่างต่อเนื่องในขณะที่ผสมแล้ว เคลื่อนตัวอย่างช้า ๆ และภายใน 7 วัน จะเคลื่อนไปถึงตำแหน่งที่จะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ไข่ที่ผสมแล้วจะมีลักษณะกลม โดยประกอบด้วยเซลประมาณ 100 เซล เมื่อไข่ที่ผสมแล้ว(ตัวอ่อน)ฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูกซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อยึดเกาะกันมั่นคงดี จึงจะถือได้ว่าการปฏิสนธิเป็นไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว (ตัวอ่อน) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มแทรกลึกลงไปในผนังมดลูกเพื่อสร้างทางติดต่อกับเลือกของแม่ และจะเจริญเป็นรกสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ซึ่งตัวอ่อนจะมีเนื้อเยื่อพิเศษ 3 ชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นจะสร้างเป็นอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกายทารกน้อย
4. เอ็มบริโอจะมีลักษณะทุกอย่างเหมือนกับคน และกระดูกในร่างกายจะเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดูกแข็ง โดยมีการเปลี่ยนแปลงดังนี้
อายุ 3 สัปดาห์ เริ่มมีหัวใจ สมอง และกระดูกไขสันหลัง
อายุ 4 สัปดาห์ เริ่มมี ตา ปุ่มแขน และปุ่มขา
อายุ 5 สัปดาห์ ปุ่มแขนและปุ่มขาขยาายขนาดใหญ่ขึ้น เรื่อยๆ
อายุ 6 สัปดาห์ เริ่มมีหู
อายุ 7 สัปดาห์ เริ่มมีแผดานในช่องปาก
อายุ 8 สัปดาห์ เริ่มปรากฏอวัยวะเพศภายนอก กนะดูกในช่องปากเปลี่ยนจากกระดูกอ่อนเป็นกระดุกแข็ง และมีทุกอย่างเหมือนคน หลังจากนั้นเป็นการเจริญเติบโตของอวัยวะต่างๆทั้งภายนอก และภายใน เพื่อให้สมบูรณ์ และพร้อมที่จะทำงานได้
อายุ 38 สัปดาห์ หรือ 9 เดือน คลอดออกมาเป็นทารก

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ใบความรู้ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24


ใบความรู้ที่ 24.1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24

รายวิชา พ 31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง ความหมายและประเภทของความรุนแรง เวลา 1 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................
ความหมายและประเภทของความรุนแรง
ความรุนแรง
ความรุนแรง หมายถึง การทำร้ายร่างกายและจิตใจ การทำร้ายทางเพศ และการถูกทอดทิ้งในเด็กโดยบุคคลต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักพบในสตรีและเด็ก สำหรับความรุนแรงในเด็ก จะเป็นการทำร้ายเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมา ซึ่งผลกระทบต่อเด็กที่ได้รับความรุนแรงจะทำให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก ทำให้มีการเจริญเติบโตช้า และ แสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ก้าวร้าว หวาดกลัว ซึมเศร้า โดยเฉพาะในวัยรุ่นอาจมีการเสพสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และการทำร้ายร่างกายของตนเองและผู้อื่น ด้วยการฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่น ซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย
ประเภทของความรุนแรง
ความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การทำร้ายร่างกาย โดยการเตะ ต่อย ทุบตี หรือการทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อวัยวะ
ต่าง ๆ โดยใช้ไฟจี้ น้ำร้อนราด ล่ามโซ่ หรือมีดฟันจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาการที่ปรากฏคือ ฟกช้ำ หรือเกิดบาดแผลบริเวณร่างกาย รวมทั้งการบาดเจ็บภายใน เช่น อาเจียนเป็นเลือดปัสสาวะเป็นเลือด
2. การทำร้ายทางจิตใจ อาจแสดงด้วยวาจาหรือพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ด่าทอ ดูถูก
เหยียดหยาม บังคับขู่เข็ญ การไล่ออกจากบ้าน และจำกัดเสรีภาพ เป็นต้น
3. การทำร้ายทางเพศ เช่น ทำอนาจาร ข่มขืน ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพจิตใจและ
ร่างกายของเด็ก เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และโรคทางเพศสัมพันธ์
4. การทอดทิ้ง โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือขาดการเอาใจใส่ดูแล จะทำให้เด็กขาด
พัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจ กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาต่อสังคมและเป็นภาระของสังคมต่อไป

ที่มา : หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ เรณุมาศ มาอุ่นและคณะ .สำนักพิมพ์พัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด หน้า 148 . พ.ศ.2548


ใบความรู้ที่ 24.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24

รายวิชา พ 31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง สาเหตุและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น เวลา 1 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................

สาเหตุและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น

ความรุนแรงในวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น การควบคุมตนเองไม่ได้ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว โกรธ ทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น
2. ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ ปัญหาครอบครัวในด้านต่าง ๆ เช่น การหย่าร้าง การทะเลาะวิวาท การทอดทิ้งและทารุณกรรมเด็ก เป็นต้น
3. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจและค่านิยมของสังคม เช่น ความยากจน การแก่งแย่งแข่งขัน ค่านิยมทางวัตถุนิยมและค่านิยมเรื่องเพศที่ผิด

จากสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นที่ถูกกระทำรุนแรง ทำให้มีปัญหา
ด้านพฤติกรรม ดังนี้คือ
1. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
2. เกิดความหวาดกลัว
3. มีอาการซึมเศร้า
4. แสดงความก้าวร้าวทางอารมณ์และอาจทำร้ายผู้อื่น
5. การเสพสารเสพติด
6. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคทางเพศสัมพันธ์
7. การหมดอาลัยในชีวิต ทำให้คิดฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่นได้


ที่มา : หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ เรณุมาศ มาอุ่นและคณะ .สำนักพิมพ์พัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด หน้า 148-149. พ.ศ.2548

สวัสดีปีใหม่ 2552


ในวโรกาสขึ้นปีใหม่ 2552 ขอให้คณะผู้บริหาร ครู นักเรียน และบุคลากรโรงเรียนเชะปัตตนยานุกุลทุกท่านประสบแต่ความสุข ความเจริญ แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงตลอดไป