ใบความรู้ที่ 24.1
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24
รายวิชา พ 31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง ความหมายและประเภทของความรุนแรง เวลา 1 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................
ความหมายและประเภทของความรุนแรง
ความรุนแรง
ความรุนแรง หมายถึง การทำร้ายร่างกายและจิตใจ การทำร้ายทางเพศ และการถูกทอดทิ้งในเด็กโดยบุคคลต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักพบในสตรีและเด็ก สำหรับความรุนแรงในเด็ก จะเป็นการทำร้ายเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมา ซึ่งผลกระทบต่อเด็กที่ได้รับความรุนแรงจะทำให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก ทำให้มีการเจริญเติบโตช้า และ แสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ก้าวร้าว หวาดกลัว ซึมเศร้า โดยเฉพาะในวัยรุ่นอาจมีการเสพสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และการทำร้ายร่างกายของตนเองและผู้อื่น ด้วยการฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่น ซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย
ประเภทของความรุนแรง
ความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การทำร้ายร่างกาย โดยการเตะ ต่อย ทุบตี หรือการทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อวัยวะ
ต่าง ๆ โดยใช้ไฟจี้ น้ำร้อนราด ล่ามโซ่ หรือมีดฟันจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาการที่ปรากฏคือ ฟกช้ำ หรือเกิดบาดแผลบริเวณร่างกาย รวมทั้งการบาดเจ็บภายใน เช่น อาเจียนเป็นเลือดปัสสาวะเป็นเลือด
2. การทำร้ายทางจิตใจ อาจแสดงด้วยวาจาหรือพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ด่าทอ ดูถูก
เหยียดหยาม บังคับขู่เข็ญ การไล่ออกจากบ้าน และจำกัดเสรีภาพ เป็นต้น
3. การทำร้ายทางเพศ เช่น ทำอนาจาร ข่มขืน ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพจิตใจและ
ร่างกายของเด็ก เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และโรคทางเพศสัมพันธ์
4. การทอดทิ้ง โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือขาดการเอาใจใส่ดูแล จะทำให้เด็กขาด
พัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจ กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาต่อสังคมและเป็นภาระของสังคมต่อไป
ที่มา : หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ เรณุมาศ มาอุ่นและคณะ .สำนักพิมพ์พัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด หน้า 148 . พ.ศ.2548
ใบความรู้ที่ 24.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24
รายวิชา พ 31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง สาเหตุและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น เวลา 1 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................
สาเหตุและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น
ความรุนแรงในวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น การควบคุมตนเองไม่ได้ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว โกรธ ทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น
2. ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ ปัญหาครอบครัวในด้านต่าง ๆ เช่น การหย่าร้าง การทะเลาะวิวาท การทอดทิ้งและทารุณกรรมเด็ก เป็นต้น
3. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจและค่านิยมของสังคม เช่น ความยากจน การแก่งแย่งแข่งขัน ค่านิยมทางวัตถุนิยมและค่านิยมเรื่องเพศที่ผิด
จากสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นที่ถูกกระทำรุนแรง ทำให้มีปัญหา
ด้านพฤติกรรม ดังนี้คือ
1. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
2. เกิดความหวาดกลัว
3. มีอาการซึมเศร้า
4. แสดงความก้าวร้าวทางอารมณ์และอาจทำร้ายผู้อื่น
5. การเสพสารเสพติด
6. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคทางเพศสัมพันธ์
7. การหมดอาลัยในชีวิต ทำให้คิดฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่นได้
ที่มา : หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ เรณุมาศ มาอุ่นและคณะ .สำนักพิมพ์พัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด หน้า 148-149. พ.ศ.2548
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24
รายวิชา พ 31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง ความหมายและประเภทของความรุนแรง เวลา 1 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................
ความหมายและประเภทของความรุนแรง
ความรุนแรง
ความรุนแรง หมายถึง การทำร้ายร่างกายและจิตใจ การทำร้ายทางเพศ และการถูกทอดทิ้งในเด็กโดยบุคคลต่าง ๆ ซึ่งความรุนแรงที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ส่วนใหญ่มักพบในสตรีและเด็ก สำหรับความรุนแรงในเด็ก จะเป็นการทำร้ายเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีลงมา ซึ่งผลกระทบต่อเด็กที่ได้รับความรุนแรงจะทำให้เกิดปัญหาต่อการพัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจของเด็ก ทำให้มีการเจริญเติบโตช้า และ แสดงพฤติกรรมที่ไม่ดี เช่น ก้าวร้าว หวาดกลัว ซึมเศร้า โดยเฉพาะในวัยรุ่นอาจมีการเสพสารเสพติด การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร ทำให้เกิดการตั้งครรภ์โดยไม่พึงประสงค์ และการทำร้ายร่างกายของตนเองและผู้อื่น ด้วยการฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่น ซึ่งนับเป็นปัญหาสำคัญของสังคมไทย
ประเภทของความรุนแรง
ความรุนแรงแบ่งออกเป็น 4 ประเภท ดังนี้
1. การทำร้ายร่างกาย โดยการเตะ ต่อย ทุบตี หรือการทำให้เกิดความเจ็บปวดต่อวัยวะ
ต่าง ๆ โดยใช้ไฟจี้ น้ำร้อนราด ล่ามโซ่ หรือมีดฟันจนได้รับบาดเจ็บ ซึ่งอาการที่ปรากฏคือ ฟกช้ำ หรือเกิดบาดแผลบริเวณร่างกาย รวมทั้งการบาดเจ็บภายใน เช่น อาเจียนเป็นเลือดปัสสาวะเป็นเลือด
2. การทำร้ายทางจิตใจ อาจแสดงด้วยวาจาหรือพฤติกรรมต่าง ๆ เช่น ด่าทอ ดูถูก
เหยียดหยาม บังคับขู่เข็ญ การไล่ออกจากบ้าน และจำกัดเสรีภาพ เป็นต้น
3. การทำร้ายทางเพศ เช่น ทำอนาจาร ข่มขืน ทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพจิตใจและ
ร่างกายของเด็ก เกิดปัญหาการตั้งครรภ์และโรคทางเพศสัมพันธ์
4. การทอดทิ้ง โดยเฉพาะเด็กที่ถูกทอดทิ้งหรือขาดการเอาใจใส่ดูแล จะทำให้เด็กขาด
พัฒนาการด้านร่างกายและจิตใจ กลายเป็นเด็กที่มีปัญหาต่อสังคมและเป็นภาระของสังคมต่อไป
ที่มา : หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ เรณุมาศ มาอุ่นและคณะ .สำนักพิมพ์พัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด หน้า 148 . พ.ศ.2548
ใบความรู้ที่ 24.2
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 24
รายวิชา พ 31101 สุขศึกษาและพลศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
เรื่อง สาเหตุและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น เวลา 1 ชั่วโมง
............................................................................................................................................................
สาเหตุและพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงในวัยรุ่น
ความรุนแรงในวัยรุ่นที่เกิดขึ้นในสังคมไทย มีสาเหตุมาจากปัจจัยหลายประการ ดังนี้
1. ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ ความเครียดในเรื่องต่าง ๆ เช่น การควบคุมตนเองไม่ได้ แสดงพฤติกรรมก้าวร้าว โกรธ ทำร้ายร่างกายตนเองหรือผู้อื่น
2. ปัจจัยครอบครัว ได้แก่ ปัญหาครอบครัวในด้านต่าง ๆ เช่น การหย่าร้าง การทะเลาะวิวาท การทอดทิ้งและทารุณกรรมเด็ก เป็นต้น
3. ปัจจัยทางสังคม ได้แก่ ปัญหาทางเศรษฐกิจและค่านิยมของสังคม เช่น ความยากจน การแก่งแย่งแข่งขัน ค่านิยมทางวัตถุนิยมและค่านิยมเรื่องเพศที่ผิด
จากสาเหตุความรุนแรงที่เกิดขึ้น ส่งผลกระทบต่อวัยรุ่นที่ถูกกระทำรุนแรง ทำให้มีปัญหา
ด้านพฤติกรรม ดังนี้คือ
1. ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
2. เกิดความหวาดกลัว
3. มีอาการซึมเศร้า
4. แสดงความก้าวร้าวทางอารมณ์และอาจทำร้ายผู้อื่น
5. การเสพสารเสพติด
6. การมีเพศสัมพันธ์ก่อนวัยอันควร เกิดปัญหาการตั้งครรภ์ไม่พึงประสงค์ และโรคทางเพศสัมพันธ์
7. การหมดอาลัยในชีวิต ทำให้คิดฆ่าตัวตายหรือฆ่าผู้อื่นได้
ที่มา : หนังสือเรียนสุขศึกษา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ของ เรณุมาศ มาอุ่นและคณะ .สำนักพิมพ์พัฒนา
คุณภาพวิชาการ (พ.ว.) จำกัด หน้า 148-149. พ.ศ.2548
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น