วันจันทร์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551

ลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์

หลังจากเกิดการปฏิสนธิได้ 7 วันแล้ว จากนั้นตัวอ่อนจะเจริญเติบโตเป็นทารก โดยแบ่งลักษณะการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์ออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่
1. ระยะไข่ เป็นระยะของไข่ในช่วง 2 สัปดาห์แรกภายหลังจากการปฏิสนธิ
2. ระยะตัวอ่อน นับตั้งแต่สัปดาห์ที่ 2 จนถึงสัปดาห์ที่ 8 หลังจากการปฏิสนธิ
3. ระยะทารก นับตั้งแต่ปลายเดือนที่ 2 หรือต้นเดือนที่ 3 ของการตั้งครรภ์
4. ระยะคลอด คือ ระยะที่เด็กในครรภ์อายุครบ 9 เดือน จึงคลอดออกมาจากครรภ์มารดา

ในระยะตัวอ่อนนี้ เมื่ออายุครรภ์ครบ 28 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 35 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม ผิวหนังแดงเรื่อแต่เหี่ยวย่นคล้ายผิวคนแก่ มีไขเคลือบทั่ว อวัยวะต่าง ๆ เริ่มทำงานได้ ถ้าทารกคลอดในระยะนี้ อาจมีชีวิตอยู่ได้ในความดูแลของกุมารแพทย์ที่มีเครื่องมือเครื่องใช้พร้อม เมื่ออายุครรภ์ครบ 32 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ 40 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 1,600 – 2,000 กรัม เริ่มมีไขมันใต้ผิวหนัง ถ้าเป็นเพศชายอัณฑะจะเคลื่อนจากช่องท้องลงไปยังถุงอัณฑะ การเจริญเติบโตของร่างกายของทารกในครรภ์ใกล้เคียงกับทารกคลอดครบกำหนด ถ้าคลอดในระยะนี้ มีโอกาสอยู่รอดได้มากขึ้น เมื่ออายุครรภ์ครบ 36 สัปดาห์ ทารกจะยาวประมาณ ๔๕ เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 2,000-2,400 กรัม รอยย่นของผิวหนังหายไป แต่ยังมีไขเคลือบอยู่ อวัยวะต่าง ๆ เจริญเติบโตเกือบเต็มที่ และเมื่ออายุครบ 40 สัปดาห์ หรือครบกำหนดคลอด อวัยวะต่าง ๆ ของทารกจะเจริญเติบโตเต็มที่ตัวยาวประมาณ 50 เซนติเมตร น้ำหนักไม่ควรน้อยกว่า 2,500 กรัม ระยะนี้ศีรษะของทารกจะเคลื่อนลงไปในอุ้งเชิงกราน ทำให้มารดารู้สึกว่า "ท้องลด" หายอึดอัด สลายขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น: